รูปแบบการอ้างอิงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต

1.ผู้ค้นจะต้องทราบว่าตนเองต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและต้องมีข้อมูลประกอบในการค้นหาเช่น ชื่อผู้แต่ง เป็นต้น





2.รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหาเช่นถ้าต้อง การค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC



ตัวอย่างการค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC 


3.ต้องรู้จักวิธีการใช้ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหาเช่นรู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐานหรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วยนอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ได้แก่ การบันทึกการสั่งพิมพ์การส่งข้อมูทางE-mailการจัดการรายการบรรณานุกรมเป็นต้น



ตัวอย่างการส่งข้อมูทาง E-mail 


4.ต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดและการหาหนังสือบนชั้น






5.รู้จักกฏกติกามารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้

1.การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search)
   ใช้คำโดดๆหรือผสมเพียง1คำในการสืบค้นข้อมูลโดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหาได้แก่

   1.1ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคลนามปากกาหรือชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆดังนี้
                      
     


                      

                     
                            

1.2ชื่อเรื่อง (Title)
     เป็นการค้นหาข้อมูลด้วยชื่อเรื่องเช่นชื่อหนังสือ หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศใช้หลักการเดียวกันคือค้นหาตามชื่อนั้นๆได้เลย
 1.3หัวเรื่อง (Subject Heading)
      คือคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศหัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น
  1.4คำสำคัญ (Keywords)
        คือการค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหาโดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้นกระทัดรัดได้ใจความมีความหมายเป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
2.การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search)
   เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐานซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้น หาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้นเพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
  2.1การสืบค้นข้อมูล
       โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)หรือการค้นหาโดยใช้Operator เป็นการค้นหาโดยใช้คำเชื่อม3ตัว คือAND,OR, NOT ดังนี้
– ANDใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่าสัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้คือส้มตำANDอาหารหมายถึงต้องการค้นหาคำว่าส้มตำ และคำว่าอาหาร
– ORใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้นเช่นสัมตำไทยORส้มตำปูปลาร้าหมายถึงต้องการค้นหาคำว่าสัมตำไทย และส้มตำปูปลาร้าหรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
– NOTใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลงเช่นต้องการค้นหาคำว่าส้มตำANDอาหารNOTเพลงหมายถึงต้องการค้นหา คำว่าส้มตำเฉพาะที่เป็นอาหารไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต




ตัวอย่างการสืบค้นข้อมูล

1. เว็บไซต์ (Website):ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น


ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างๆ


  2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ :ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวกรวดเร็วโดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่องซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อ มูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน






  3. ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล :แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งจำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่นแสนหรือล้านรายการออนไลน์(online)เป็นคำทับศัพท์การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการอาจใช้เทคนิคง่าย






การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรม

     การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตมีหลักการเช่นเดียวกับการเขียนรายละ เอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลประเภทอื่นๆคือต้องให้รายละเอียดที่ทำให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลนั้นๆได้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำ หรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตสามประเภทใหญ่ ได้แก่
1.หนังสือ
2.เอกสาร และบทความ
3.ข้อความที่ประกาศ(post)และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
     การเขียนบรรณานุกรมข้อความที่ประกาศบนอินเทอร์เน็ต หมายถึงข้อความที่นำเสนอเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บฟอรัม(web forum)ข้อความที่นำเสนอในลิสต์เซิร์ฟ(Listserv)และกลุ่มข่าว(Newsgroup)ต่างๆรายละเอียดที่ควรระบุได้แก่ชื่อผู้ประกาศวันเดือนปีที่ประกาศ หัวเรื่อง(ดูตามที่ปรากฏในบรรทัดหัวข้อ subject)และยูอาร์แอล(ยกเว้นสำหรับ ข้อความในกลุ่มข่าวให้ระบุชื่อกลุ่มข่าวแทน)โดยในแบบเอพีเอ และแบบเอ็มแอลเอกำหนดให้มีข้อความที่บ่งว่าเป็นข้อความ ที่ประกาศและในแบบเอ็มแอลเอและแบบชิคาโก กำหนดให้ระบุวันที่ที่สืบค้น



 ตัวอย่างรูปแบบการเขียนอ้างอิงเว็บไซต์




                                             



ที่มา https://apinyamaimee.wordpress.com

1 ความคิดเห็น: